วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

วิวัฒนาการการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุปันการใช้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตประจำวั นมากขึ้น และใช้งานกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นที่จะต้องติดต่อสื่อสาร อินเตอร์เน็ตจึงได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ รองรับการสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้จดหมายอินเล็กทรอนิกส์ การติดต่อด้วยเสียง ระบบ VDO Conference การใช้โทรศัพท์บนเครือข่าย ซึ่งก็มีวิวัฒนาการตามลำดับเบื้องต้นดังนี้

E-mail
หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้บางคนคิดว่า E-mail คือ อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตคือ E-mail วิธีใช้งานอีเมลล์ก็ง่ายและมีประโยชน์มาก การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ (หมายถึงระบบที่ใช้กระดาษในการเขียนจดหมาย) กล่าวคือในระบบไปรษณีย์ปกติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การรับส่งจดหมายคือเป็นบรุษไปรษณีย์ (ในกรณีของประเทศไทยคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย) ถ้าเป็นในอินเตอร์เน็ตสิ่งที่ทำหน้าที่คอยรับส่งจดหม ายคือบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น E-mail Server (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กท รอนิคส์)

Chat
คือ การส่งข้อความสั้นๆ ระหว่างบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาเดี ยวกัน และสามารถเขียนโต้ตอบกันไปมาคล้ายกับการคุยกัน ซึ่งก็ได้มีการพัฒนโปรแกรมสำหรับหาร Chat ออกมามากมายที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายก็ค ือ MSN Messenger และสิ่งหนึ่งที่มีการพัฒนาต่อมา คือระบบการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย IP ที่เรียกว่า เทคโนโลยี Voice over IP หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “VoIP” จนสามารถใช้งานได้ดีขึ้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีความสะดวกมากที่สุด VoIP ถูกเริ่มต้นใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนา ระหว่างกัน ได้ รวมถึงการสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานอีกด้วยโดยไม่เสียค ่าบริการแต่อย่างได และคุณภาพของบริการก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเทียบเท ่าระบบ โทรศัพท์พื้นฐาน   ซึ่ง VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC to PC ) PC มีการติดตั้ง sound card และไมโครโฟน ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย IP การประยุกต์ใช้ PC และ IP-enabled telephones สามารถสื่อสารกันได้แบบจุดต่อจุด หรือ แบบจุดต่อหลายจุด โดยอาศัย software ทางด้าน IP telephony
2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง โทรศัพท์พื้นฐาน ( PC to Phone )  เป็นการเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์เข้ากับ เครือข่าย IP ทำให้โดยอาศัย Voice trunks ที่สนับสนุน voice packet ทำให้สามารถใช้ PC ติดต่อกับ โทรศัพท์ระบบปกติได้
3. โทรศัพท์กับโทรศัพท์ ( Telephony )   เป็นการใช้โทรศัพท์ธรรมดา ติดต่อกับโทรศัพท์ธรรมดา แต่ในกรณีนี้จริงๆแล้วประกอบด้วยขั้นตอนการส่งเสียงบ นเครือข่าย Packet ประเภทต่างๆซึ่งทั้งหมดติดต่อกันระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (PSTN) การติดต่อกับ PSTN หรือ การใช้โทรศัพท์ร่วมกับเครือข่ายข้อมูลจำเป็นต้องใช้ gateway





การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารข้อมูล

อี เมล์ (E-mail)   เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังบุคคลอื่น ซึ่งผู้ส่งและผู้รับต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปของ e-mail address (pirom9@hotmail.com)
วอยซ์ – เมล์   เป็นการส่งข้อความในรูปของเสียงผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และผ่านสื่อแล้วมีการบันทึกไว้สำหรับการฟัง
โทรสาร หรือแฟกซ์   เป็นการส่งข้อความเป็นหน้ากระดาษ โดยส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรสาร
อินเทอร์เน็ต Internet   อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีบริการการรับ ส่งข้อมูลในรูปของสื่อประสม และบริการทางการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศ
การใช้อินเทอร์เน็ต   อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด และเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตจัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านธุรกิจต่างๆก็สามารถนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ได้ 

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสื่อสาร
ในยุคก่อนที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะถือกำเนิดขึ้นนั้น การติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่างๆ เช่นไปรษณีย์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสื่อก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ กันไป แต่ในปัจจุบันนี้ สื่อที่สร้างความเปลี่ยน แปลงในการส่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ก็คือระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวได้ว่าประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ในยุคแห่งสารสนเทศนี้ ก็คือการช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ไม่ว่าเพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและบริการต่างๆ ในด้านการศึกษา ธุรกิจการค้า การลงทุน การนำเสนอความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ แม้กระทั่งการนำเสนอข้อมูลส่วนตัวให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยให้ผู้คนจากทั่วโลกเข้ามาเยี่ยมชมได้ และยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันในด้านธุรกิจ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป็นหมายได้ครอบคลุมให้มากที่สุดโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางโดยที่ผู้ใช้สามารถติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือเครื่องบริการหรืออุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและให้บริการข้อมูลต่างๆ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสื่อสาร โดยระบบ WWW (WORLD WIDE WEB) นับว่าเป็นส่วนสำคัญในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสื่อสารที่ทำโด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรียกว่าระบบอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสามารถใช้งานได้ง่าย มีข้อความ ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ทำให้สวยงามและน่าสนใจและเรียนรู้การใช้งานได้ง่ายแม้แต่กับผู้ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน จุดเด่นของ WWW คือการมีการบรรจุเนื้อหาสาระลงไปในเอกสาร ที่เรียกว่า เว็บเพจ” (WEBPAGE) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นๆได้ผ่านทางข้อความหรือภาพ ทำให้ผู้ที่อ่านเว็บเพจสามารถเปิดเว็บอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันขึ้นมาชมได้อย่างง่ายดาย
การที่เว็บสามารถเชื่อมโยงกันได้ ทำให้โครงสร้างของการเชื่อมโยงเว็บเพจในอินเตอร์เน็ตเหมือนกับใยแมงมุมที่เชื่อต่อกัน การเชื่อมแบบนี้จึงถูกเรียกว่า WORLD WIDE WEB หรือเครือข่ายใยแมงมุมทั่วโลก นั่นเอง
เว็บเพจได้ถูกรวบรวมไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เหล่านี้กระจายอยู่ทั่วโลก เราเรียกคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ว่า เว็บเซอร์ฟเวอร์ (WEB SERVER)เมื่อเราต้องการชมเว็บใด เราก็จะสามารถเข้าไปดูเนื้อหาต่างๆที่ผู้จัดทำได้เตรียมไว้ให้เราชม

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตที่เราคุ้นเคยแบ่งได้ 9 กลุ่มดังนี้
1. หาความรู้ ความบันเทิง ข่าวสาร และสิ่งที่สนใจ เหมือนกับการอ่านหนังสือ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ซึ่งมีมากมายกว่าร้านหนังสือหรือห้องสมุดใดๆในโลก และที่สำคัญ ข้อมูลเหล่านี้มักเป็นของฟรีด้วย
2. ส่งและรับจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (ELECTRONICS MAIL:EMAIL) ซึ่งเป็นจดหมายที่ สามารถส่งหาผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่นได้อย่างรวดเร็ว ข้ามโลกในเวลาไม่กี่วินาที
3. แลกเปลี่ยนไฟล์ (FILE TRANSFER PROTOCOL:FTP) ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรม ไฟล์ภาพ หรือเกม
4. ซื้อและขายสินค้าที่ต้องการ (ELECTRONICS COMMERCE:E-COMMERCE) โดยผู้ขายสามารถจัดแสดงภาพสินค้าไว้ในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ซื้อมาเลือกชมและสั่งสินค้าได้ทันที และผู้ขายยังสามารถรับชำระเงิน ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
    เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการหลายชนิดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั่วไปได้ ดังนี้
๑ . จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการรับส่งข้อความที่มีขั้นตอนคล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แต่เป็นระบบอัตโนมัติทางคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันได้ทั่วโลก ซึ่งสามารถโต้ตอบกันได้หรือทิ้งจดหมายไว้ในเครื่องกรณีผู้ติดต่อด้วยไม่ได้อยู่ที่คอมพิวเตอร์
๒ . การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจากระยะทางไกล (Remote Login) ด้วยโปรแกรม Telnet ซึ่งเป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ห่างไกลเสมือนเครื่องของตนเอง ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้น
๓ . บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล โดยที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากการค้นหาข้อมูลที่ต้องการจึงเป็นเรื่องยาก ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่มี Search Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น Yahoo.com, Google.com เป็นต้น
๔ . กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (News Group) เป็นบริการแบ่งกลุ่มเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ
๕ . การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถขนถ่ายแฟ้มข้อมูลโดยโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยการ Download หรือ Upload ไฟล์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการได้โดยสะดวก
๖ . บริการไฮเปอร์มีเดีย (Hyper-media) ด้วย World Wide Web หรือ WWW. ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเคอร์เน็ตในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสื่อสารได้ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยใช้โปรแกรมแสดงผล (Browser) เช่น โปรแกรม Internet Explorer เป็นต้น
๗ . โปรแกรมสนทนา (Chat) เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้โปรแกรมสนทนาสามารถพิมพ์ข้อความพูดคุยโต้ตอบในลักษณะทันทีทันใด (Real Time) สามารถสนทนาเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือเฉพาะบุคคลได้



ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

(1) อินเทอร์เน็ต (Internet)
1) การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)  เป็นระบบการสื่อสารทางจดหมายผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการ ส่งข้อความถึงใครก็สามารถ เขียนเป็นเอกสารแล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ที่เรียกว่าแอดเดรส ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของแอดเดรสจะเป็นชื่อ รหัสผู้ใช้ และชื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบน อินเทอร์เน็ตนี้ ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานี ให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือก นำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายทำให้เราสามารถเรียกเข้าหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอมให้เราใช้ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผล ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บ ข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่านหรือนำมาพิมพ์ลักษณะ การเรียกค้นนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่าเครือข่ายใยแมงมุม ครอบคลุมทั่วโลก (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5) การอ่านจากกลุ่มข่าว ภายในอินเทอร์เน็ต มีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจแต่ละกลุ่มข่าว อนุญาต ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความลงไปได้ และหากมีผู้ต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้กลุ่มข่าวนี้ จึงแพร่หลายกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6) การสนทนาบนเครือข่าย เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จะสามารถใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือเพื่อโต้ตอบกันแบบทันที ทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบันถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้ง สถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวิดีโอบนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการ ส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดิโอยังไม่เห็นดีเท่าที่ควร




วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชุมชนเข้มแข็งทางเลือกใหม่ของการพัฒนา

          จากการวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มขึ้นในปลายปี 2539 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆส่งผลกระทบต่อประชาชนชั้นและทุกภาคส่วนของสังคมประเด็นเรื่อง ชุมชนเข้มแข็ง จึงได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันมากในฐานะที่เป็น ทางเลือก ที่สำคัญของการพัฒนา เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้เพียงลำพังดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางตามหลักปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ความเข้มแข็งของชุมชนจึงเป็นฐานสำคัญในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่สำคัญประการหนึ่งต่อเนื่องมาถึงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9

ความหมายของชุมชนเข้มแข็ง
                เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนจึงต้องเริ่มจากการใช้จุดแข็งในสังคมและทุนทางสังคมที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ได้มีการให้แนวคิดและความหมายของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางและการนำไปสู่การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้
               ชุมชน หมายถึงกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นปกติต่อเนื่อง
อันเนื่องมาจากการอยู่ในพื้นที่ร่วมกันหรือมีอาชีพร่วมกันหรือการประกอบกิจการซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกันหรือการมีวัฒนธรรมความเชื่อ หรือความสนใจร่วมกัน (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)โดยความเป็นชุมชนอาจหมายถึงการที่คนจำนวนหนึ่งเท่าใดก็ได้มีวัตถุประสงค์ร่วมกันมีการติดต่อสื่อสารหรือรวมกลุ่มกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ในการกระทำมีการจัดการ เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน(ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

              จากความหมายข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่าชุมชนมีความหมายมากกว่าการที่คนแต่ละคนมาอยู่ร่วมกัน แต่ได้สร้างความสัมพันธ์กันโดยมีหลักการเงื่อนไข กติกา ซึ่งเราเรียกโดยรวมว่าระเบียบบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกัน ชุมชนจึงมีลักษณะเป็นองค์กรทางสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของสมาชิกและสามารถช่วยให้สมาชิกสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันได้
              ความเข้มแข็งของชุมชน จึงหมายถึงการที่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของเมืองหรือชนบทรวมตัวกันเป็น องค์กรชุมชนโดยมีการเรียนรู้ การจัดการและการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชนแล้วถึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชนที่ดีขึ้นตามลำดับโดยจะเรียกชุมชนนี้ว่า กลุ่ม ชมรม สหกรณ์ บริษัท องค์กรชาวบ้าน เครือข่ายหรืออื่นๆ ที่มีความหมายแสดงถึงการร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และด้วยความเอื้ออาทรต่อชุมชนอื่นๆในสังคมด้วย
             ทั้งนี้องค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่มหรือชมรมหรือสหกรณ์ หรือในชื่ออื่นใด โดยจะมีการจดทะเบียนตามกฎหมายหรือไม่ก็ตามอันเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวด้วยความสมัครใจของประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์และอุดมคติร่วมกันมีมิตรภาพและความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจจิตใจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีผู้นำตาธรรมชาติเกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอาศัยอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยในแต่ละชุมชนจะมีการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติต่างๆ เช่นมิติทางด้านเศรษฐกิจมิติทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มิติทางด้านสังคมและมิติทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น อาจพัฒนาความเข้มแข็งได้เพียงบางมิติเท่านั้นเนื่องจากเงื่อนไขและกระบวนการที่นำไปสู่ความเข้มแข็งในแต่ละมิติของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน

องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
                จากการดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
คณะอนุกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตภายใต้คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ
ได้กำหนดกรอบองค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็งไว้ว่าจะต้องประกอบด้วย บุคคลหลากหลายที่รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชนอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ตามมีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก มีจิตสำนักของการพึ่งตนเองรักษาเอื้ออาทรต่อกัน และมีความรักท้องถิ่น รักชุมชน มีอิสระในการร่วมคิด
ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมีการเรียนรู้เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกันหลายรูปแบบ มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่องมีการจัดการบริหารกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายของชุมชนสืบทอดกันตลอดไปลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

108 วิธีโจรกรรมรถที่คุณต้องรู้

               ในสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยจะสู้ดีนัก บวกกับราคาน้ำมันที่ขึ้นลงยิ่งกว่าหุ้น ทำให้ใครที่คิดจะถอยรถป้ายแดงมาสักคันหนึ่ง คงต้องคิดให้รอบคอบมากกว่าเดิมเป็นสิบเท่าร้อยเท่า แล้ว ถ้าใครมั่นใจว่าการออกรถรถคันใหม่ไม่ใช่ปัญหา คงต้องระมัดระวังกันต่อเรื่องการโจรกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ยิ่งเป็นยี่ห้อเป็นสีรถที่ตรงกับ  'ใบสั่ง' ด้วยล่ะก็ต่อให้ล็อก 10 ขึ้นตอน หรือใช้ระบบไฮเทคขนาดไหนก็ไม่มีทางรอดพ้นเงื้อมมือของพวกนักโจรกรรมรถยนต์ไปได้ มีสารพัดวิธีที่พวกหัวขโมยเหล่านี้สรรหามาล่อหลอกให้เจ้าของรถทั้งหลายได้เจ็บใจ ดังนั้นเราจึงต้องรู้ทันก่อนที่จะเสียรู้คนพวกนี้...ข้อมูลบางส่วนที่นำเสนอนั้นมาจากศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปร.ตร.)  ที่สำคัญเมื่อ 'รถหาย' จึงแม้ว่าจะตกใจแทบบ้าคุณก็ควรมีสติ   ให้รีบแจ้งรายละเอียด แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุทราบโดยเร็ว หรือโทรหมายเลขพิเศษ '1192' ของ(ศปร.ตร.) ตลอด24ชั่วโมง เพื่อความรวดเร็วในการติดตามสกัดจับคนร้าย และเพื่อความรวดเร็วในการกระจายข่าวสาร, ข้อมูลของรถที่ถูกโจรกรรม ไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง คือ ตำรวจทางหลวง, ตำรวจตระเวนชายแดน, ตำรวจภูธรภาค 1-9, กองบัญชาการตำรวจนครบาล, สถานีตำรวจภูธรตามแนวชายแดน, กองกำลังบูรพา, กองกำลังป้องกันชายแดน จันทบุรีและตราด
จอดรถต้องระวังการจอดรถไม่ว่าจะจอดในที่ ส่วนบุคคล ที่สาธารณะ แม้จอดทิ้งไว้ ระยะสั้นหรือ นานเพียงใด เพื่อไปทำธุระ หรือทำงาน ก็ตาม ไม่ควร จอดไว้ห่างไกล ควรมีคนเฝ้า ดูแลหรือยาม รปภ. ก่อนทิ้งรถ ควรไปตรวจสอบ การล็อคกุญแจประตู และใช้ อุปกรณ์ กันขโมย ให้ครบถ้วน อย่าทิ้งทรัพย์สิน สิ่งของมีค่า ไว้ในรถล่อตาคนร้าย
                บางครั้งรถไม่หายแต่ของหาย ข้อควรระวังในการจอดที่สำคัญก็คืออย่าจอดรถทิ้งไว้ค้างคืนบนถนน ไม่ว่าจะมีเครื่องป้องกันการโจรกรรมรถชนิดใดก็ตาม และอย่าทิ้งกุญแจรถไว้ที่รถ เมื่อจอดรถลงไปทำธุระไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
                จอดรถในบ้าน....ใช่ว่ารถจะไม่หาย บางคนคิดว่าจอดรถในบ้านนั้นปลอดภัยที่สุดเพราะอยู่ในรั้วบ้านของเราเอง แต่น่านล่ะอันตรายเพราะคุณไมได้นอนเฝ้ารถตลอดเวลา แล้วเวลากลางคืนก็เป็นฤกษ์งามยามดีในการออกโจรกรรมรถตามบ้าน เพราะฉะนั้นการจอดรถในบ้านก็ต้องมีวิธีในการรักษาความปลอดภัยแบบง่ายๆ ก็คือจอดรถในบ้านต้องเอาท้ายรถออกนอกบ้าน ล็อครถและใช้อุปกรณ์กันขโมย หรือติดตั้งโคมไฟให้ส่องสว่างให้มองเห็นทั้งในและนอกรั้วบ้านหากจำเป็นต้องจอดรถนอกบ้าน ควรจอดชิดขอบทางหน้าบ้าน ให้มองเห็นได้ ลงจากรถและก่อนขึ้นไปนอนก็ต้องดูว่าล็อคกุญแจและอุปกรณ์กันขโมยเรียบร้อยแล้วแน่นอน
                หากมีความจำเป็นต้องจอดรถยนต์ไว้บนถนนหน้าบ้าน ควรมียามรักษาความปลอดภัยเฝ้าดูแลรถตลอดเวลาโดยประสานความร่วมมือกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่ใช้รถ ละจอดรถไว้ในลักษณะเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือกันในเรื่องค่าจ้างของยามรักษาความปลอดภัย
                จอดรถในห้าง...สารพัดอันตราย หลายคนอาจจะเข้าใจว่าจอดรถในห้างสรรพสินค้านั้นแสนจะสบายมีคนคอยดูแลตลอดเดินช็อปปิ้งกันเพลิดเพลิน แต่คุณคิดผิดเพราะด้วยบรรยากาศในลานจอดรถที่ทั้งมืดและเงียบทำให้อันตรายเป็นอย่างยิ่ง จริงอยู่ว่าทุกห้างนั้นมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแล แต่คุณต้องจำไว้ว่ารถนั้นมีเป็นพันๆคันเข้าออกในแต่ละวันเจ้าหน้าที่ไม่มีทางดูแลได้ทั่วถึง ซึ่งเป็นช่องทางให้คนร้ายเข้ามาทำการขโมยรถเราได้อย่างง่ายดาย
                วิธีแก้ไขหรือป้องกันนั้นไม่ยากเพียงแต่คุณต้องทำให้เป็นนิสัยก็คือก่อนออกรถหรือเมื่อมาถึงรถอย่ามัวแต่กังวลว่าจะต้องจัดของใส่รถหรือแต่งตัวแต่งหน้า
                โดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลาย แต่คุณควรสังเกตว่ามีอะไรผิดปกติกับของคุณหรือไม่ทั้งด้านหน้ารถและหลังรถถ้าพบว่ามีอะไรที่ผิดแปลกไปก็ให้เรียกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ใกล้ที่สุดมาช่วยดู อย่าดูเพียงลำพังเพราะคนร้ายก็กำลังหาช่วงเวลาที่คุณเผลออาจจะเข้ามาทำร้ายได้
                รถใหม่ รถเก่าก็ต้องเอาใจใส่เท่ากัน  หากคุณมีรถใหม่ควรติดตั้งอุปกรณ์กันขโมยเพิ่มเติม เช่น เปลี่ยนกุญแจใหม่ ติดตั้งชุดล็อคเกียร์ ล็อคครัช ล็อคพวงมาลัย และสัญญาณกันขโมย คนร้ายชอบขโมยรถใหม่ๆ เนื่องจากขายต่อได้ง่ายมีราคาสูงโดยเฉพาะบรรดารถยอดนิยมต่างๆ เมื่อเจ้าของรถได้รถมาใหม่มักยังไม่ติดตั้งอุปกรณ์กันขโมยเมื่อจอดไว้ในที่ไม่ปลอดภัยคนร้ายฉวยโอกาส โจรกรรมรถไปได้โดยง่ายๆ
                หรือเมื่อคุณจะตกลงซื้อรถเก่าจากเจ้าของหรือจากผู้ขายตามเต็นท์ขายรถต้องขอหมายเลขเครื่องหมายเลขตัวถังและสำเนาทะเบียนรถ มาตรวจสอบกับทะเบียนรถในท้องถิ่นที่รถนั้นจดทะเบียนไว้เสียก่อนเพราะอาจเป็นรถที่ไม่ถูกต้องหรือขโมยมาสวมทะเบียน เมื่อซื้อรถมาแล้วควรต้องเปลี่ยนกุญแจและติดตั้งอุปกรณ์กันขโมยเช่นเดียวกับรถใหม่พึงระมัดระวัง ระลึกอยู่เสมอว่าคนร้ายจ้องรอโอกาสขโมยรถของคุณอยู่
                ระวัง การใช้อุปกรณ์กันขโมย เมื่อติดตั้งอุปกรณ์กันขโมยแล้วการใช้อุปกรณ์ต้องเก็บเป็นความลับเฉพาะผู้ที่ไว้ใจได้เพราะอุปกรณ์ บางอย่างใช้รหัสเฉพาะหรือสัญญาณรีโมทการไปจอดรถในที่ต่างๆจึงควรระวังคนร้ายอาจคอยสังเกตวิธีการใช้อุปกรณ์กันขโมยของท่านและติดตามไปหาโอกาสโจรกรรมรถของคุณในภายหลัง
                รถคุณถูกติดตามจะทำอย่างไร กรณีสังเกตรู้ว่ามีผู้ขับรถติดตามรถท่านให้สันนิษฐานว่าเป็นคนร้ายไว้ก่อนเพราะอาจตามไปฉวยโอกาสขโมยรถเมื่อคุณจอดรถทิ้งไว้ในที่ไม่ปลอดภัยหรืออาจประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของคุณ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าถูกติดตามจึงควรป้องกันโดยพยายามขับรถเข้าไปในเขตชุมชน ขอความช่วยเหลือและแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใกล้ที่สุดโดยด่วน
                จดจำตำหนิรูปพรรณ คุณควรจดจำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรถของคุณไว้ให้มากที่สุดโดยเฉพาะตำหนิรูปพรรณพิเศษอื่นๆโดยถ่ายเอกสารทะเบียนรถเก็บไว้รวมทั้งถ่ายรูปรถของคุณให้ปรากฏรอยตำหนิพิเศษ เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานกรณีรถหายจะได้นำมาแจ้งให้ตำรวจตรวจสอบสกัดจับได้อย่างรวดเร็วทันการณ์หากรถของคุณยังไม่มีตำหนิ ควรทำขึ้นไว้ในจุดที่ผู้อื่นไม่สามารถสังเกตเห็นและจดจำไว้ให้แม่นยำ
                รถจักรยานยนต์ต้องล็อคล้อล่ามโซ่ เนื่องจากมีสถิติรถจักรยานยนต์หายมากที่สุดเพราะคนร้ายขโมยไปได้ง่าย หรือยกขึ้นรถอื่นได้สะดวก การจอดรถจักรยานยนต์ นอกจากจะล็อคกุญแจคอกุญแจล้อแล้วควรล่ามโซ่ไว้ให้แข็งแรงด้วยและอย่าจอดทิ้งไว้ในที่เปลี่ยวหรือที่ลับตา
                ระวังการนำรถไปซ่อม-รับบริการ แก็งค์คนร้ายอาจจะเป็นช่างซ่อมรถหรือผู้ให้บริการตามอู่ซ่อมรถ หรือสถานบริการบำรุงรักษารถ มีความชำนาญระบบกลไก ของรถ อาจลักลอบทำกุญแจผี หรือทำลายระบบกันขโมย แล้วติดตามไปโจรกรรมรถของคุณในภายหลัง จึงควรระมัดระวัง ควรอยู่ดูแลการซ่อมหรือการบริการอื่นๆ อย่างใกล้ชิด หากจำเป็นต้องทิ้งรถไว้ให้ซ่อม หรือบำรุงรักษา จะต้องเป็น ผู้คุ้นเคยหรือ ไว้ใจได้เท่านั้น
                ทั้งหมดเป็นไอเดียของพวกโจรกรรมรถมืออาชีพที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แถมยังทำกันเป็นขบวนการยากที่จะจับกุมและสืบสาวหาคนบงการ เมื่อเครื่องมือป้องกันรถออกแบบมาล้ำหน้าแค่ไหนก็ไม่เกินกว่าที่พวกนี้จะหาทางแก้
                เพราะฉะนั้นเจ้าของรถจึงต้องระวังตัวเองและรถยนต์ของท่านให้ดี เพราะพวกโจรเหล่านี้จ้องจะขโมยรถของคุณตลอด 24 ชม.



จังหวัดที่มีการรับแจ้งคดีโจรกรรมรถจักรยานยนต์มากที่สุด












 





             บทสรุป

               จากเนื้อหาของบทความดังกล่าวข้างต้นกล่าวได้ว่า ในปี พ.. 2552 จังหวัดที่มีการรับแจ้งคดีโจรกรรมจักรยานยนต์มากที่สุด ในแถบมหานครมากเป็นอันดับที่หนึ่ง มีจำนวน 6,506 คัน ซึ่งมากกว่าอันดับที่สองและสามถึง 4-5 เท่าตัว ส่วนจังหวัดรองลงมาคือชลบุรี มีจำนวน 1,663 คัน อันดับที่สาม เชียงใหม่ มีจำนวน 1,290 คัน ซึ่ งอัตราการสูญหายของรถจักรยานยนตร์ในแต่ละปี ลดหย่อนตามสัดส่วน แต่จังหวัดที่มีการรับแจ้งคดีโจรกรรมรถจักรยานยนต์มากที่สุดในแต่ละปีก็คือ กรุงเทพมหานคร

ข้อเสนอแนะ
                1.ควรส่งเสริมและสนันสนุนให้คนไทยรู้เท่าทันถึงวิธีการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน เพื่อ ป้องกันการถูกโจรกรรมในระยะยาว
                2. สนับสนุนบุคลากรทางตำรวจให้ออกตระเวนรักษาความปลอดภัยให้แก่บ้านเรือนประชาชนในเวลากลางคืน
                3. เปิดศูนย์รับแจ้งเบาะแสคนร้ายที่โจรกรรมรถ เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรม


เอกสารอ้างอิง
                http://www.nso.go.th/   สำนักงานสถิติแห่งชาติ




นางสาวบุณฑริกา อำมาตย์มนตรี
รหัสนิสิต 52010119026

การเกิดประชากรไทย

          สถานการณ์ประชากรที่กำลังได้รับความสนใจในสังคมโลกปัจจุบันคงจะหนีไม่พ้นเรื่องโครงสร้างประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและสังคมไทยในปัจจุบันมีอัตราการเกิดของประชากรต่ำแนวโน้มในอนาคตประเทศไทยจะเปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดที่มีอัตราการเกิดของประชากรมากที่สุด3อันดับคือ กรุงเทพฯ นครราชสีมา ชลบุรีและเรียงตามลำดับตามตารางที่ยกตัวอย่างมานั้นเองรายงสนนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลอัตราการเกิดของประชากรไทยในปัจจุบันตั้งแต่ 2550-2552 เป็นต้น         


ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มช้าลงไปเรื่อยๆ อีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า อัตราเพิ่มของประชากรไทยจะใกล้เคียงกับศูนย์และอาจเป็นไปได้ว่าอัตราเพิ่มประชากรลดลงไปจนต่ำกว่าศูนย์หรือติดลบ จำนวนประชากรไทยใกล้จะถึงจุดคงตัวแล้วเมื่ออัตราเพิ่มประชากรใกล้เคียงกับศูนย์ ประชากรก็จะมีจำนวนคงตัวที่ประมาณ 65ล้านคน ในแต่ละปี ประชากรไทยจะไม่เพิ่มหรือลดไปจากจำนวนนี้มากนัก ประชากรไทยมีจำนวนคงตัวในระยะเวลาอีกเพียงประมาณ15 ปีเท่านั้น
        ในขณะที่จำนวนประชากรไทยกำลังเพิ่มช้าลงนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรอย่างใหญ่หลวง เมื่ออัตราเกิดลดต่ำลงอย่างมากและผู้คนมีอายุยืนยาวนั้นสังคมไทยจึงกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดแต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 25ของประชากรทั้งหมด หรือมีจำนวนมากถึง 16 ล้านคนเมื่อถึงเวลานั้น ประชากรสูงอายุจะมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเด็กเสียอีก
        สัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ลักษณะการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจระหว่างประชากรวัยต่าง
ๆ เปลี่ยนไป เดิมมีประชากรวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานมากกว่าผู้สูงอายุแต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานมากกว่าเด็ก อัตราส่วนระหว่างประชากรวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุจะลดลงจนเหลือเพียง
2 ต่อผู้สูงอายุ 1 คน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
            
             การเปลี่ยนแปลงประชากรไทยในอนาคตได้ก่อให้เกิดนัยยะเชิงนโยบายหลายประการ
  (1) การที่เด็กเกิดใหม่แต่ละปีมีแนวโน้มลดน้อยลงในอนาคตจะทำให้รัฐไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณและสามารถมุ่งเน้นที่คุณภาพของเด็กเกิดใหม่โดยเฉพาะงานอนามัยแม่และเด็กได้มากยิ่งขึ้น
 (2) เช่นเดียวกับประชากรเด็กประชากรในวัยศึกษาเล่าเรียนมีแนวโน้มลดลง รัฐจะสามารถเน้นคุณภาพของการศึกษาได้ดีขึ้น
 (3) แม้จำนวนประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในอนาคตแต่ความต้องการแรงงานในระบบเศรษฐกิจของประเทศอาจมีเพิ่มขึ้นการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศอาจเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นการจัดการแรงงานข้ามชาติให้เป็นระบบที่ดีจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
(4) ประชากรยิ่งมีอายุมากยิ่งเพิ่มเร็วสังคมไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ มาตรการและโครงการที่จะเป็นสวัสดิการให้ประชากรสูงอายุไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป หรือเรื่องสุขภาพอนามัย ควรที่จะได้เริ่มกันตั้งแต่วนนี้และจะต้องพัฒนาไปให้ทันกับการเพิ่มอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุในอนาคต


          สรุปได้ว่า อัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทย พ..2551อัตราการเกิดของประชากรมากที่สุดคือกรุงเทพฯคิดเป็นร้อยละ65.03%ส่วนบุรีคิดเป็นร้อยละ17.70%และนครราชสีมาคิดเป็นร้อยละ17.27%จะเห็นได้ว่ากรุงเทพฯยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเกิดของประชากรสูงสุดของประเทศรองลงมาคือชลบุรีและนครราชสีมาเรียงตามลำดับ

 
          สรุปได้ว่า อัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทย พ..2552 จังหวัดที่มีการเกิดของประชากรมากที่สุดคือกรุงเทพฯคิดเป็นร้อยละ 65.12%ส่วนชลบุรีคิดเป็นร้อยละ17.62%และนครราชสีมาคิดเป็นร้อยละ17.20%และจะเห็นได้ว่ากรุงเทพฯยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเกิดของประชากรสูงสุดของประเทศรองลงมาคือชลบุรีและนครราชสีมาเรียงตามลำดับ

          สรุปได้ว่า ข้อมูลอัตราการเกิดของประชากรไทยปี พ..2550-2552 จังหวัดที่มีอัตราการเกิดของประชากรมากที่สุดคือกรุงเทพฯคิดเป็นร้อยละ 65.45% ส่วนชลบุรีคิดเป็นร้อยละ17.49% และนครราชสีมาคิดเป็นร้อยละ17.06% จะเห็นได้ว่ากรุงเทพยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเกิดของประชากรสูงที่สุดของประเทศรองลงมาคือชลบุรีและนครราชสีมาเรียงตามลำดับ

          สรุปได้ว่าจังหวัดที่มีอัตราการเกิดของประชากรมากที่สุดจะเห็นได้จากแผนภูมิคือกรุงเทพมหานครส่วนอัตราการเกิดของจังหวัดชลบุรีและจังหวัดนครราชสีมาจะมีอัตราการเกิดของประชากรที่ใกล้เคียงกัน


          สรุปได้ว่าจังหวัดที่มีการเกิดมากของประชากรมากที่สุดยังคงเป็นกรุงเทพมหานครส่วนจังหวัดชลบุรีและจังหวัดนครราชสีมามีการเกิดของประชากรอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

บทสรุป
                จากการสำรวจอัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทยในปี พ.. 2550-2552 พบว่าอัตราการเกิดของประชากรมากที่สุด3อันดับจะอยู่ที่กรุงเทพฯ, ชลบุรี, นครราชสีมาโดยในปี พ.. 2550 กรุงเทพมีอัตราการเกิดของประชากรมากถึง 110,534คน ส่วนชลบุรีมีอัตราการเกิดของประชากรมากถึง 29,069 คนในปี พ.2551 และนครราชสีมามีอัตราการเกิดมากที่สุดในปี พ..2551 มีจำนวนการเกิดของประชากรมากถึง 28,351คน และในแต่และปีจะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดของจำนวนประชากรจะไม่เท่ากันบางปีจำนวนการเกิดของประชากรก็ลดลงบางปีก็เพิ่มขึ้นส่วนจังหวัดอื่นๆก็มีอัตราการเกิดของประชากรเรียงตามดำดับตามตารางที่กล่าวมาข้างต้น
ข้อเสนอแนะ
อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดการรณรงค์เกี่ยวกับอัตราการเกิดของประชากรในประเทศว่าในแต่ละปีมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนประชากรและในปัจจุบันมีจำนวนประชากรเท่าไรในประเทศ

เอกสารอ้างอิง
http://www.nso.go.th/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ




นางสาวพัชรา    นนท์ขุนทด     ชื่อเล่น  โล           
รหัสนิสิต   52010119034   สาขาการพัฒนาชุมชน ปี2กลุ่มเรียนที่ 1   ระบบปกติ